
โครงการอนุรักษ์ประติมากรรมและลวดลายปูนปั้นประดับสะพานในกรุงเทพมหานคร
ทีมงานจีโอเวิรคส์ มีความภาคภูมิใจเป็นอย่างยิ่งที่ได้รับความไว้วางใจให้มีส่วนร่วมในโครงการ “การอนุรักษ์ประติมากรรมและลวดลายปูนปั้นประดับสะพานในกรุงเทพมหานคร” ดังกล่าวภายใต้การร่วมมือกันระหว่างสำนักผังเมืองกรุงเทพมหานคร, คณะจิตรกรรม ประติมากรรม และภาพพิมพ์ มหาวิทยาลัยศิลปากร และ คณะวิศวกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์
ย้อนกลับไปเมื่อวันศุกร์ ที่ 23 ตุลาคม 2457 พระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 6 เสด็จพระราชดำเนินโดยรถยนต์พระที่นั่ง เพื่อทรงเปิดสะพานแห่งใหม่ ซึ่งได้พระราชทานนามว่า ‘มหาดไทยอุทิศ’ นับเป็นสะพานคอนกรีตเสริมเหล็ก Hennebique System ซึ่งเป็นเทคนิคสมัยใหม่ และยาวที่สุดในไทยขณะนั้น โดยจุดเด่นของสะพานแห่งนี้อยู่ที่ประติมากรรมนูนต่ำรูปชายจูงมือเด็ก และหญิงอุ้มเด็กในอาการโศกเศร้า หน้าจั่วด้านหัวป้ายมีอักษรย่อ จปร. อีกซุ้มหนึ่งมีเลข ๕ เพื่อเป็นเครื่องหมายแสดงให้เห็นว่า สร้างขึ้นเพื่ออุทิศถวายเป็นพระราชกุศลแด่รัชกาลที่ 5 ด้วยเหตุนี้ คนทั่วไปจึงเรียกขานว่า ‘สะพานร้องไห้’
นอกจากนี้ราวสะพานแบ่งเป็นช่องสี่เหลี่ยม ภายในบรรจุรูปปั้นหล่อรูปพวงหรีดวงกลมพันด้วยใบลอเรล คั่นกลางด้วยแถบริบบิ้นห้อย และยังมีซุ้มย่อยข้างละ 4 ซุ้ม แต่ละซุ้มแบ่งเป็น 2 ตอน โดยตอนบนประดับรูป ‘ราชสีห์’ นูนต่ำ ยืนบนแท่นหันหน้าทิศกลางสะพาน อันแสดงให้เห็นว่าข้าราชการกระทรวงมหาดไทยร่วมใจกันบริจาคเงินก่อสร้าง
ปัจจุบันสะพานมหาดไทยอุทิศได้รับการประกาศขึ้นทะเบียนจากกรมศิลปากรเป็นโบราณสถาน เมื่อวันที่ 18 มีนาคม 2518 จึงนับว่าเป็นสะพานที่ทรงคุณค่าทางสุนทรีย์และประวัติศาสตร์อย่างยิ่ง อย่างไรก็ตาม ปัจจุบันได้รับความเสื่อมโทรมไปมาก ด้วยเล็งเห็นถึงความสำคัญ สะพานมหาดไทยอุทิศจึงถูกเลือกให้เป็นกรณีศึกษาแรก เนื่องจากมีอายุครบ 100 ปี ในปี 2557
เนื่องด้วยตัวสะพานมีรายละเอียดค่อนข้างมากและลวดลายมีความซับซ้อน ทีมงานจีโอเวิรคส์จึงได้ใช้เทคนิค non-contact 3D laser scanning technology โดยเลือก Articulated Arm CMM และ 3D Laser Scanner รุ่น Zephyr II ยี่ห้อ Kreon ซึ่งมีประสิทธิภาพสูง ทำให้สามารถเก็บรายละเอียดต่างๆ ได้อย่างครบถ้วนสมบูรณ์มาเป็นเครื่องมือในการทำงานครั้งนี้
ผลงานชิ้นเยี่ยมที่รังสรรค์โดย Malcom DeMille
Malcom DeMille ศิลปินชาวอเมริกัน เจ้าของบริษัท Malcom DeMille Inc. ที่มีชื่อสียงในการออกแบบและรังสรรค์งานประติมากรรมต่างๆ รวมถึงรูปปั้น, ถ้วยรางวัลเกียรติยศและเครื่องประดับอันล้ำค่า
จากจินตนาการอันไร้ขอบเขตจนกลายเป็นผลงานศิลป์ที่จับต้องได้ DeMille ได้ใช้โปรแกรม Geomagic Freeform ในการออกแบบและขึ้นรูปผลิตภัณฑ์ต่างๆ ของเค้าก่อนส่งต่อไปสู่ขั้นตอนการผลิตจริง


โบราณคดี-ศาสตร์ในยุคแห่งความก้าวหน้าทางเทคโนโลยี
ทุกวันนี้ความล้ำหน้าทางเทคโนโลยีเข้ามามีบทบาทในทุกองค์ความรู้ ไม่เว้นแม้กระทั่งศาสตร์ทางด้านโบราณคดีซึ่งวิทยาการอันทันสมัยของเครื่องมือต่างๆ ได้เข้ามาช่วยในการประเมินและวิเคราะห์ข้อมูลทางประวัติศาสตร์ได้อย่างน่าอัศจรรย์ จากเหตุผลนี้เหล่านักโบราณคดีของมหาวิทยาลัยเซ้าท์ฟลอริดา (University of South Florida-USF) จึงได้เริ่มปรับวิถีการเรียนการสอนและการถ่ายทอดความรู้ทางโบราณคดีให้ก้าวทันยุคดิจิตอลในปัจจุบัน
วิทยาลัยศิลปะแห่งประเทศจีนออกแบบรูปปั้นเหมา เจ๋อตุง อดีตประธานาธิบดีของจีนโดยใช้ซอฟท์แวร์ Geomagic
แต่เดิมในการก่อสร้างอนุสาวรีย์ของประธานเหมา เจ๋อตุง ทีมงานช่างได้ใช้การเขียนแบบลงในกระดาษแบบวิธีดั่งเดิมซึ่งต้องใช้เวลานานในการลงรายละเอียดและกะขนาดของแต่ละชิ้นส่วนเพื่อขยายสเกลให้มีความถูกต้องตามที่กำหนด จึงได้เปลี่ยนมาใช้การออกแบบด้วยระบบคอมพิวเตอร์สมัยใหม่ และด้วยฟังก์ชั่นที่ยอดเยี่ยมของซอฟท์แวร์ Geomagic ทำให้ร่นระยะเวลาในการดีไซน์และปรับแต่งจนได้รูปปั้นที่มีสัดส่วนตรงตามที่ต้องการในที่สุด
